ธรรมะในการดำเนินชีวิตประจำวัน
พระธรรม
คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหลักศีลธรรมสำหรับชาวพุทธที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทานสั่งสอนไว้
มีมากมายหลายระดับ ทั้งที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตประจำวัน
และระดับที่สูงขึ้นไป
หากพุทธศาสนิกชนทุกคนล้วนแต่ตั้งมั่นอยู่ในคำสั่งสอนของท่าน
ย่อมบังเกิดความสงบสุขในการดำเนินชีวิต
และในสังคมที่เราอาศัยอยู่อย่างแน่นอน
แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ล้วนแล้วแต่มาจากการที่
คนเราไม่ตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั่นเอง ที่นำมาเสนอไว้ ณ ที่นี้
ก็เพื่อเป็นการทบทวนความจำที่เราได้เคยเล่าเรียนมา
พินิจพิจารณาถึงความเป็นจริงในแต่ละข้อที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้
และนำไปปฏิบัติด้วยอันเป็นจุดมุ่งหมายอันสูงสุด
ฆราวาสธรรม
๔คือธรรมสำหรับการครองเรือนในชีวิตของบุคคลทั่วไปได้แก่
๑.พูดจริงทำจริงและซื่อตรง (สัจจะ) ๒.ฝึกหัดแก้ไขปรับปรุง
(ทมะ) ๓.อดทนตั้งใจและขยัน (ขันติ) ๔.เสียสละ (จาคะ)
ครั้นเมื่อพระอริยสงฆ์จำนวน
๑๒๕๐ รูปต่างมาประชุมโดยพร้อมเพรียงกันโดยมิได้นัดหมายในวันเพ็ญเดือน ๓
(วันมาฆบูชา) พระพุทธองค์ทรงประทานโอวาทปาติโมกข์
อันถือเป็นข้อธรรมที่เป็นประธานของคำสอนทั้งหลาย
แก่พระอริยสงฆ์สาวกดังต่อไปนี้
โอวาทปาติโมกข์
คือข้อธรรมย่ออันเป็นหลักหรือหัวใจสำคัญของพระพุทธศาสนา ๓
ประการได้แก่๑.ไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๒.ทำความดีให้ถึงพร้อม
๓.ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส
ธรรมคุ้มครองโลกมี ๒
อย่างคือ๑.ความละอายใจในการทำบาป (หิริ)
๒.ความเกรงกลัวผลของการทำชั่ว (โอตตัปปะ)
อิทธิบาท ๔
หรือธรรมที่ช่วยให้สำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ได้แก่๑.ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
(ฉันทะ) ๒.ความเพียรเพื่อประกอบสิ่งนั้น (วิริยะ)
๓.เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ (จิตตะ) ๔.หมั่นตริตรอง
พิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น (วิมังสา)
เมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้วได้แสดงปฐมเทศนาโปรดแก่
ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ (ผู้ที่เคยอุปัฏฐากปรนนิบัติพระองค์มาได้แก่
โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ) เป็นครั้งแรก มรรคอันมีองค์
๘ นี้เป็นข้อปฏิบัติแบบสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
ที่ทรงโปรดแก่เหล่าปัญจวัคคีย์มีดังนี้
มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่๑.สัมมาทิฏฐิ
คือมีปัญญาอันเห็นชอบ ได้แก่การเห็นในอริยสัจ ๔ คือ
- ทุกข์
- เหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สมุทัย)
- ความดับทุกข์ (นิโรธ)
- ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ (มรรค)
๒.สัมมาสังกัปปะ คือดำริชอบ ได้แก่
ดำริที่จะออกจากกาม (เนกขัมมะ)
ดำริในการไม่พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
ดำริในการไม่เบียดเบียนผู้อื่น
๓.สัมมาวาจา คือเจรจาชอบ
ได้แก่การเว้นจากวจีทุจริต ๔ คือไม่ประพฤติชั่วทางวาจาอันได้แก่
- ไม่พูดเท็จ (มุสาวาทา)
- ไม่พูดส่อเสียด ยุยงให้เขาแตกร้าวกัน (ปิสุณาย วาจาย)
- ไม่พูดคำหยาบคาย (ผรุสาย วาจาย)
- ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหลไร้สาระ (สัมผัปปลาปา)
๔.สัมมากัมมันตะ
คือทำการงานชอบโดยประกอบการงานที่ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดกฏหมาย
ไม่ผิดศีลธรรม และเว้นจากการทุจริต ๓ อย่างได้แก่
- การเบียดเบียนฆ่าสัตว์ตัดชีวิต (ปาณาติบาต)
- การลักขโมย และฉ้อฉลคดโกง แกล้งทำลายผู้อื่น (อทินนาทาน)
- การประพฤติผิดในกาม (กาเมสุมิจฉาจาร)
๕.สัมมาอาชีวะ คือเลี้ยงชีวิตชอบได้แก่
การเว้นจากการเลี้ยงชีพในทางที่ผิด การประกอบสัมมาอาชีพคือ
- เว้นจากการค้าขายเครื่องประหารมนุษย์และสัตว์
- เว้นจากการค้าขายมนุษย์ไปเป็นทาส
- เว้นจากการค้าสัตว์สำหรับฆ่าเป็นอาหาร
- เว้นจากการค้าขายน้ำเมา
- เว้นจากการค้าขายยาพิษ
๖.สัมมาวายามะ คือมีความเพียรชอบ ๔
ประการได้แก่
- เพียรระวังมิให้บาปหรือความชั่วเกิดขึ้น
- เพียรละบาปหรือความชั่วที่เกิดขึ้นแล้ว
- เพียรทำกุศลหรือความดีให้เกิดขึ้น
- เพียรรักษากุศลหรือความดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่
๗.สัมมาสติ คือระลึกชอบได้แก่
การระลึกวิปัฏฐานได้แก่ การระลึกในกาย เวทนา จิต และธรรม ๔ ประการคือ
- พิจารณากาย ระลึกได้เมื่อรู้สึกสบายหรือไม่สบาย
พิจารณาลมหายใจเข้าออก
- พิจารณาเวทนา ระลึกได้เมื่อรู้สึกสุข หรือทุกข์ หรือเฉยๆ
มีราคะ โทสะ โมหะหรือไม่
- พิจารณาจิต ระลึกได้ว่าจิตกำลังเคร้าหมองหรือผ่องแผ้ว
รู้เท่าทันความนึกคิด
- พิจารณาธรรมให้เกิดปัญญา
ระลึกได้ว่าอารมณ์อะไรกำลังผ่านเข้ามาในใจ
๘.สัมมาสมาธิ คือตั้งใจชอบ
ทำจิตให้สงบระงับจากกิเลส เครื่องเศร้าหมอง
ให้มีอารมณ์แน่วแน่เป็นอันเดียว เพื่อให้จิตจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน
หาอารมณ์อันไม่มีโทษให้จิตยึด จะได้ไม่พร่าไปหลายทางได้แก่
การเจริญฌานทั้ง ๔ คือ
- ปฐมฌาน หรือฌานที่ ๑
- ทุติยฌาน หรือฌานที่ ๒
- ตติยฌาน หรือฌานที่ ๓
- จตุตถฌาน หรือฌานที่ ๔
สัปปุริสทาน ๘ หรือทานของสัตบุรุษ
มีดังนี้
๑.ให้ของสะอาด |
๕.พิจารณาเลือกใหด้วยวิจารณญาณ |
๒.ให้ของประณีต |
๖.ให้สม่ำเสมอ |
๓.ให้เหมาะกาลเวลา |
๗.เมื่อให้ มีจิตใจผ่องใส |
๔.ให้ของที่ควรให้ |
๘.ให้แล้ว มีความเบิกบานใจ |
สัปปุริสธรรม ๘ หรือธรรมของสัตบุรุษ
(คุณสมบัติของคนดี๑.มีสัทธรรม ๗ ประการคือ
๑.๑ มีศรัทธา ๑.๒ มีหิริ ๑.๓ มีโอตตัปปะ ๑.๔
เป็นพหูสูต ๑.๕ มีความเพียรอันปรารภแล้ว ๑.๖ มีสติมั่นคง
๑.๗ มีปัญญา ๒.ภักดีสัตบุรุษ
หรือการคบหาสมณพราหมณ์ที่มีคุณธรรมข้างต้นเป็นมิตร (สัปปุริสภัตตี)
๓.คิดอย่างสัตบุรุษ คือไม่เบียดเบียนคนอื่น (สัปปุริสจินดี)
๔.ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ (สัปปุริสมันตี) ๕.พูดอย่างสัตบุรุษ
ถูกต้องตามวจีสุจริต (สัปปุริสวาโจ) ๖.ทำอย่างสัตบุรุษ
ถูกต้องตามกายสุจริต (สัปปุริสกัมมันโต) ๗.มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ
มีสัมมาทิฏฐิ (สัปปุริสทิฏฐี) ๘.ให้ทานอย่างสัตบุรุษ
ตามหลักสัปปุริสทาน (สัปปุริสทานัง เทติ)
คุณสมบัติของพ่อค้าที่ดี๑.ตาดี
๒.ฉลาด ๓.รู้จักคนกว้างขวาง
เคล็ดลับการเป็นพหูสูต ๕
อย่าง๑.ฟังมาก หรือศึกษาเล่าเรียนมาก ๒.จำมาก
คือหมั่นสังเกตจดจำสิ่งต่างๆที่เห็นมา เรียนมา ๓.ท่องจนคล่องขึ้นใจ
คือจำได้โดยไม่ต้องนึกคิด ๔.เจนใจ
คือการคิดจนสร้างมโนภาพในใจขึ้นได้ทันที ๕.ทะลุปรุโปร่ง
คือนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาพิจารณาเป็นข้อสรุป
อธิบายต้นสายปลายเหตุได้อย่างถูกต้อง
เป็นปัจฉิมโอวาทที่พระพุทธเจ้าทรงประทานแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นครั้งสุดท้ายก่อนเสด็จปรินิพพาน
ให้เจริญด้วยไตรสิกขาให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท
เสร็จแล้วก็ทรงดับขันธปรินิพพานเลย ถือเป็นบทรวมของการปฏิบัติทั้งหมด
ไตรสิกขา๑.ศีล
๒.สมาธิ ๓.ปัญญา
อานิสงส์ในการฟังธรรม ๕
ประการได้แก่๑.ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๒.สิ่งที่ได้ฟังแล้ว ย่อมชัดเจนแจ่มแจ้งขึ้น
๓.บรรเทาความสงสัยเสียได้ ๔.ทำความเห็นให้ตรง
๕.จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส *ไม่ได้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
แต่เป็นโอวาทที่ท่านธนัญชัยเศรษฐีได้ให้ไว้กับนางวิสาขาก่อนออกเรือน
ซึ่งถือว่าเป็นข้อพึงปฏิบัติที่ดีสำหรับสตรีทั่วไป จึงได้นำมากล่าวไว้
ณ ที่นี้
โอวาท ๑๐ ประการ
ในการเป็นแม่ศรีเรือน๑.ไฟในอย่านำออก
หมายถึงไม่ควรนำความลับหรือเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัว
ไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้ ๒.ไฟนอกอย่านำเข้า
หมายถึงไม่ควรนำคำนินทาว่าร้ายเสียดสีด้วยความอิจฉาริษยา
จากบุคคลภายนอกมาสู่ครอบครัว
อันจะเป็นเหตุให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง
๓.พึงให้แก่คนที่ให้
หมายถึงคนที่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อควรมีน้ำใจไมตรีตอบแทน
เมื่อมีผู้มาหยิบยืมข้าวของเงินทอง ควรให้แก่คนที่นำมาคืนเท่านั้น
๔.พึงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้
หมายถึงคนที่ไม่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อมีน้ำใจก็ไม่ควรทำใจกว้างหรือทำหน้าใหญ่ใจโต
ผู้ที่เคยหยิบยืมแล้วไม่นำมาคืน คราวต่อไปหากยังกล้ามาหยิบยืมอีก
ไม่ควรให้ ๕.พึงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้
หมายถึงการสงเคราะห์ญาติและมิตรสหาย แม้เขาจะนำมาคืนหรือไม่ก็ตาม
เมื่อเห็นว่าเป็นการสมควร
หรือเขาเป็นคนดีควรแก่การเกื้อหนุนอนุเคราะห์ก็ควรให้
๖.พึงนั่งให้เป็นสุข การนั่งในที่อันเหมาะอันควร
ไม่เกะกะขวางทาง
ไม่ต้องคอยลุกหลีกเมื่อพ่อสามีแม่สามีหรือผู้ใหญ่เดินผ่าน
และนั่งเมื่อจัดการงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
๗.พึงนอนให้เป็นสุข หมายถึงควรนอนทีหลังพ่อสามีแม่สามี
และสามีได้เข้านอนแล้ว
คือต้องตรวจดูข้าวของกลอนประตูหน้าต่างและฟืนไฟให้เป็นที่เรียบร้อย
ทั้งจัดแจงข้าวของที่จำเป็นสำหรับหุงหาหรือใช้สอยในวันรุ่งขึ้นให้พร้อมมูลครบครัน
จึงจะถือได้ว่าเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี ๘.พึงกินให้เป็นสุข
หมายถึงควรจัดข้าวปลาอาหารสำหรับพ่อสามีแม่สามีรวมทั้งสามีและบุตรให้เป็นที่เรียบร้อย
๙.พึงบูชาไฟ
หมายถึงการให้ความเคารพยำเกรงสามีและบิดามารดาของสามีตลอดจนญาติผู้ใหญ่
๑๐.พึงบูชาเทวดา หมายถึงให้นับถือบิดามารดาสามีและบรรพบุรุษ
|
|
|
|