ธรรม ๔ ประการเรื่องความรัก โทสะ๑.ความรักเกิดเพราะความรักก็มี๒.โทสะเกิดเพราะความรักก็มี ๓.ความรักเกิดเพราะโทสะก็มี ๔.โทสะเกิดเพราะโทสะก็มี ฐานะ ๔ ประการ๑.จะทราบศีลของบุคคลก็ด้วยการอยู่ร่วมกัน๒.จะทราบความสะอาดของบุคคลด้วยการงาน ๓.จะทราบความกล้าหาญของบุคคลในเวลามีอันตราย ๔.จะทราบปัญญาของบุคคลด้วยการสนทนา ฐานะที่ขอไม่ได้ในโลก ๕ ประการ๑.ขอให้สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาว่า อย่าแก่๒.ขอให้สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดาว่า อย่าเจ็บ ๓.ขอให้สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดาว่า อย่าตาย ๔.ขอให้สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดาว่า อย่าสิ้นไป ๕.ขอให้สิ่งที่มีความฉิบหายเป็นธรรมดาว่า อย่าฉิบหาย เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสรู้แล้ว แต่เนื่องจากพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อน สุขุมคัมภีรภาพ ยากต่อบุคคลจะรู้ เข้าใจและปฏิบัติได้ ทรงเกิดความท้อพระทัยว่าจะไม่แสดงธรรมโปรดมหาชน ต่อมาท่านได้ทรงพิจารณาอย่างลึกซึ้ง แล้วทรงเห็นว่าบุคคลในโลกนี้มีหลายจำพวก บางพวกสอนได้ บางพวกสอนไม่ได้ เปรียบเสมือนบัว ๔ เหล่า ดังนั้นแล้วจึงดำริที่จะแสดงธรรมเพื่อมวลมนุษยชาติต่อไป บัว ๔ เหล่า ได้แก่๑.พวกที่มีสติปัญญาฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้ และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงอาทิตย์ก็เบ่งบานทันที (อุคฆฏิตัญญู)๒.พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาอันไม่ช้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำซึ่งจะบานในวันถัดไป (วิปจิตัญญู) ๓.พวกที่มีสติปัญญาน้อย แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มอยู่เสมอ มีความขยันหมั่นเพียรไม่ย่อท้อ มีสติมั่นประกอยด้วยศรัทธา ปสาทะ ในที่สุดก็สามารถรู้และเข้าใจได้ในวันหนึ่งข้างหน้า เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ ซึ่งจะค่อยๆ โผล่ขึ้นเบ่งบานได้ในวันหนึ่ง (เนยยะ) ๔.พวกที่ไร้สติปัญญา และยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้ได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจความหมายหรือรู้ตามได้ ทั้งยังขาดศรัทธาปสาทะ ไร้ซึ่งความเพียร เปรียบเสมือนดอกบัวที่จมอยู่กับโคลนตม ยังแต่จะตกเป็นอาหารของเต่าปลา ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นพ้นน้ำเพื่อเบ่งบาน (ปทปรมะ) บุคคลมี ๓ จำพวกได้แก่นัยที่ ๑. 1.1คนมีใจเป็นแผล 1.2คนมีใจเหมือนสายฟ้า 1.3คนมีใจเหมือนเพชรนัยที่ ๒. 2.1คนไม่ควรคบไม่ควรเข้าใกล้ 2.2คนควรคบควรเข้าใกล้ 2.3คนควรเข้าใกล้ควรคบ ควรสักการะ นัยที่ ๓. 3.1คนปากเหม็น 3.2คนปากหอม 3.3คนปากหวาน นัยที่ ๔. 4.1คนตาบอด 4.2คนตาเดียว 4.3คนสองตา นัยที่ ๕. 5.1คนปัญญาคว่ำ 5.2คนปัญญาเหมือนชายพก 5.3คนปัญญามาก อีกพุทธพจน์ได้ตรัสกล่าวถึงบุคคล ๓ จำพวกไว้อีกว่า
ความสุขของคฤหัสถ์ ๔ อย่าง๑.สุขเพราะมีทรัพย์๒.สุขเพราะได้ใช้สอยทรัพย์ ๓.สุขเพราะไม่มีหนี้ ๔.สุขเพราะทำงานสุจริต ไม่มีโทษ ตระกูลมั่งคั่งตั้งอยู่ไม่ได้นานเพราะเหตุ ๔ อย่าง๑.ไม่แสวงหาของที่หาย๒.ไม่บูรณะซ่อมแซมของเก่า ๓.ไม่รู้จักประมาณในการใช้สอย ๔.ตั้งบุรุษหรือสตรีผู้ทุศีลเป็นพ่อบ้านแม่เรือน ความไม่อิ่มมี ๓ อย่าง๑.ไม่อิ่มในการนอน๒.ไม่อิ่มในการดื่มสุราเมรัย ๓.ไม่อิ่มในการเสพเมถุน ชาย หญิง ผูกใจกันด้วยอาการ ๘ อย่างคือ
คู่สร้างคู่สมนั้น ควรต้องมีธรรม ๔ ประการคือ๑.มีศรัทธาเสมอกัน๒.มีศีลเสมอกัน ๓.มีจาคะเสมอกัน ๔.มีปัญญาเสมอกัน การอยู่ร่วมกันแห่งสามีภรรยา ท่านแบ่งเป็น ๔ ประเภทคือ๑.ศพอยู่ร่วมกับศพ หมายถึงสามีและภรรยาไร้ศีลธรรมทั้งคู่๒.ศพอยู่ร่วมกับเทพ หมายถึงสามีไร้ศีลธรรมแต่ภรรยามีศีลธรรม ๓.เทพอยู่ร่วมกับศพ หมายถึงสามีมีศีลธรรมแต่ภรรยาไร้ศีลธรรม ๔.เทพอยู่ร่วมกับเทพ หมายถึงสามีมีศีลธรรมและภรรยามีศีลธรรม
อุปกิเสส คือ สิ่งที่ทำให้เศร้าหมอง มี ๑๖ ประการได้แก่
เรื่องของกรรม พระพุทธเจ้าท่านได้จำแนกไว้อย่างลึกซึ้งแบ่งเป็นหลายประเภทคือกรรม ๒ ได้แก่๑.กรรมชั่ว หรือกรรมที่เป็นอกุศล (อกุศลกรรม) ๒.กรรมดี หรือกรรมที่เป็นกุศล (กุศลกรรม) กรรม ๓ ได้แก่ กรรม ๑๒ ได้แก่
อนันตริยกรรม ๕ คือกรรมหนัก ๕ ประการที่บาปที่สุด
ซึ่งให้ผลทันทีได้แก่ พลัง ๘ ประการ
วิชชา ๘ คือความรู้แจ้งที่วิเศษอันได้แก่๑.ญาณในวิปัสสนา คือใช้ปัญญาพิจารณาเห็นสังขาร (วิปัสสนาญาณ)๒.ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ เช่นการถอดกายทิพย์ (มโนมยิทธิ) ๓.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ) ๔.หูทิพย์ (ทิพพโสต) ๕.รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้ (เจโตปริยญาณ) ๖.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสสติ) ๗.ตาทิพย์ (ทิพพจักขุ) ๘.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) *ข้อ 3-8 ตรงกับอภิญญา ๖ ดังนี้ อภิญญา ๖อภิญญา คือความรู้อันยอดยิ่งมี ๖ ประการได้แก่๑.แสดงฤทธิ์ได้ (อิทธิวิธิ) ๒.หูทิพย์ (ทิพยโสต) ๓.รู้จักกำหนดใจผู้อื่น (เจโตปริยญาณ) ๔.ระลึกชาติได้ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ) ๕.ตาทิพย์ (ทิพยจักษุ) ๖.ทำอาสวะกิเลสให้สิ้นไป (อาสวักขยญาณ) สังขาร ๓สังขารคือ สภาพที่ปรุงแต่งที่ไม่ยั่งยืน ได้แก่๑.สภาพที่ปรุงแต่งกาย การกระทำทางกาย (กายสังขาร) ๒.สภาพที่ปรุงแต่งวาจา การกระทำทางวาจา (วจีสังขาร) ๓.สภาพที่ปรุงแต่งใจ การกระทำทางความคิด (จิตตสังขาร) |