home back

ธรรมของผู้มุ่งปฏิบัติขั้นสูง

สัมมัปปธาน ๔ โพชฌงค์ ๗
ศรัทธา ๔ อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
สังโยชน์ ๑๐ ประการ วิปัสสนาญาณ ๙ 
อานิสงส์ของมีเมตตาเป็นฌาน ๑๑ ประการ สมาบัติ ๘
สติปัฏฐาน ๔ ประการ วิโมกข์ ๘
บารมี ๑๐ ทัศ

สัมมัปปธาน ๔

หรือหมายถึงความเพียร ๔ ประการได้แก่
๑.เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ (สังวรปธาน)
๒.เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)
๓.เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในจิตใจ (ภาวนาปธาน)
๔.เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วมิให้เสื่อม (อนุรักขณาปธาน)
home

ศรัทธา ๔

คือความเชื่อที่ต้องเชื่อด้วยความแนบแน่นเป็นพื้นฐานคือ
๑.เชื่อเรื่องกรรมว่ามีจริง (กัมมสัทธา)
๒.เชื่อวิบากหรือผลของกรรมว่ามีจริง (วิปากสัทธา)
๓.เชื่อการที่แต่ละคนมีกรรมเป็นของตน (กัมมัสสกตาสัทธา)
๔.เชื่อการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า (ตถาคตโพธิสัทธา)
home

ในพระพุทธศาสนาผู้ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอริยบุคคล คือบุคคลที่ประเสริฐ เป็นผู้ที่ละแล้วซึ่งสังโยชน์ (กิเลสที่ผูกมัดสัตว์ไว้ในภพหรือผูกพันสัตว์ทั้งหลายไว้กับทุกข์) ใครละได้น้อยก็เป็นอริยบุคคลชั้นต้น เมื่อละได้มากก็เป็นพระอริยบุคคลชั้นสูงขึ้น ใครละได้หมดก็เป็นพระอรหันต์

สังโยชน์ ๑๐ ประการ ได้แก่

๑.สังกายทิฏฐิ  ความเห็นว่าร่างกายเป็นของตน
๒.วิจิกิจฉา ความสงสัยในผลกรรม การเวียนว่ายตายเกิด
๓.สีลัพพตปรามาส การเชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์
๔.กามราคะ ความติดใจในกามารมณ์
๕.ปฏิฆะ ความขัดเคืองใจ
๖.รูปนาคะ ความติดใจในรูป เช่นสิ่งล้ำค่าสวยงาม
๗.อรูปนาคะ ความติดใจในสิ่งไม่มีรูป เช่นคำสรรเสริญ
๘.มานะ ความยึดถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่ ติดในยศศักดิ์
๙.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ไม่สงบใจ
๑๐.อวิชชา ความไม่รู้อริยสัจ ๔

home

อานิสงส์ของการมีเมตตาที่เป็นฌาน ๑๑ ประการคือ (เมตตาเจโตวิมุติ)

๑.หลับเป็นสุข ๗.ไฟ ยาพิษ ศัสตรา ไม่กล้ำกราย
๒.ตื่นเป็นสุข ๘.จิตเป็นสมาธิเร็ว
๓.ไม่ฝ้นร้าย ๙.ผิวหน้าผ่องใส
๔.เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๑๐.ไม่หลงตาย (ตายด้วยจิตสงบ)
๕.เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๑๑.ถ้าไม่บรรลุธรรมสูงขึ้นไป ก็จะเข้าสู่พรหมโลก
๖.เทวดาพิทักษ์รักษา

home

สติปัฏฐาน ๔ คือสิ่งที่เราควรระลึกถึง ๔ ประการได้แก่

๑.การตั้งสติพิจารณากาย (กายานุปัสสนา)
๒.การตั้งสติพิจารณาอารมณ์ (เวทนานุปัสสนา)
๓.การตั้งสติพิจารณาใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้ว (จิตตานุปัสสนา)
๔.การตั้งสติพิจารณาธรรมที่เป็นกุศลหรืออกุศล (ธัมมานุปัสสนา)
home

ในพระพุทธประวัติเขียนไว้ว่า พระบรมโพธิสัตว์ (ตอนก่อนตรัสรู้) ครั้งเมื่อมีชัยชนะต่อพญามาร ตอนที่กำลังบำเพ็ญเพียรอยู่นั้น ก็ด้วยบารมี ๑๐ ทัศดังต่อไปนี้

บารมีจะเกิดขึ้นได้มี ๑๐ อย่าง ได้แก่

๑.ทานบารมี การให้สิ่งที่ควรให้
๒.ศีลบารมี การบำเพ็ญศีลให้ครบบริบูรณ์
๓.เนกขัมมบารมี การออกจากกามซึ่งต้องบำเพ็ญให้ถึงที่สุด
๔.ปัญญาบารมี การไต่ถามจากผู้รู้
๕.วิริยบารมี การทำความเพียรอย่างถึงที่สุด
๖.ขันติบารมี การอดกลั้นอย่างถึงที่สุด
๗.อธิษฐานบารมี การตั้งจิตไว้ให้มั่นคง
๘.สัจบารมี การรักษาวาจาสัตย์อย่างถึงที่สุด
๙.เมตตาบารมี การมีเมตตาอย่างถึงที่สุด
๑๐.อุเบกขาบารมี การวางเฉยไม่ว่าเรื่องดีไม่ดี ไม่ว่าจะมีลาภ ยศ เสื่อมยศ สรรเสริญ นินทา สุข ทุกข์

home

ธรรมที่ใช้เป็นข้อปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้ ๗ ประการได้แก่

โพชฌงค์ ๗

๑.ความระลึกได้ (สติ)
๒.ความสอดส่องธรรม (ธัมมวิจยะ)
๓.ความเพียร (วิริยะ)
๔.ความอิ่มใจ (ปิติ)
๕.ความสงบใจและอารมณ์ (ปัสสัทธิ)
๖.ความตั้งใจมั่น มีจิตแน่วแน่ในอารมณ์ (สมาธิ)
๗.ความวางเฉย หยุดนิ่ง (อุเบกขา)
home

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

คือข้อพิจารณาถึงสังขารของกายเรา เพื่อรำลึกอยู่เนืองๆ
๑.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความแก่ไปได้(ชราธัมมตา)
๒.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความเจ็บป่วยไปได้ (พยาธิธัมมตา)
๓.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่สามารถล่วงพ้นความตายไปได้ (มรณธัมมตา)
๔.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เราจักต้องมีการพลัดพรากจากของรักเป็นธรรมดาด้วยกันทั้งสิ้น (ปิยวินาภาวตา)
๕.ควรพิจารณาอยู่เนืองๆว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำกรรมใดไว้ไม่ว่าดีก็ตาม ชั่วก็ตาม เราจักต้องรับผลของกรรมนั้น (กัมมัสสกตา)
home

*วิปัสสนาญาณ ๙

คือการวิปัสสนาให้เห็นรู้แจ้งถึงสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง มีขั้นๆดังนี้
๑.ญาณที่เห็นว่าการเกิดมาและดับไปของเบญจขันธ์เป็นเรื่องธรรมดา (อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ)
๒.ญาณที่เห็นการสลายไปของสังขารว่าต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา (ภังคานุปัสสนาญาณ)
๓.ญาณที่เห็นสังขารเป็นของน่ากลัวไม่ว่าภพใด เพราะว่าต้องสลายไปทั้งสิ้น (ภยตูปัฏฐานญาณ)
๔.ญาณที่เห็นเป็นโทษ เพราะว่าสังขารเป็นของน่ากลัวจึงต้องมีข้อบกพร่อง มีทุกข์ (อาทีนวานุปัสสนาญาณ)
๕.ญาณที่เห็นความเบื่อหน่าย เมื่อเห็นว่าเป็นโทษแล้วก็บังเกิดความเบื่อหน่ายในสังขาร ไม่ติดใจ(นิพพิทานุปัสสนาญาณ)
๖.ญาณที่ปรารถนาจะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น เพราะว่าเกิดความเบื่อหน่ายแล้ว (มุญจิตุกัมยตาญาณ)
๗.ญาณที่พิจารณาหาทางเพื่อพ้นจากสังขาร ได้แก่การยกเอาสังขารทั้งหลายมาพิจารณาเพื่อให้หลุดพ้นไป (ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ)
๘.ญาณที่เห็นอย่างเป็นกลางในความเป็นไปของสังขาร ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่เห็น (สังขารุเปกขาญาณ)
๙.เมื่อเป็นกลางแล้ว ญาณก็คล้อยเข้าสู่การเห็นอริสัจจ์อันจะนำพาไปสู่ขั้นต่อไป จนกระทั่งจิตดิ่งลงเกิดมรรคญาณขึ้นจึงจะถึงที่สุดคือนิพพาน (สัจจานุโลมิกญาณ หรืออนุโลมญาณ)
home

สมาบัติ ๘

คือคุณวิเศษ หรือธรรมอันวิเศษที่ควรเข้าถึง การบรรลุธรรมชั้นสูงได้แก่ ฌาณ ๘ แบ่งเป็นรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ คือ
ฌาน ๔ ได้แก่
๑.ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา (ปฐมฌาน)
๒.ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข และเอกัคคตา (ทุติยฌาน)
๓.ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข และเอกัคคตา (ตติยฌาน)
๔.ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา และเอกัคคตา (จตุตถฌาน)
อรูปฌาน ๔
คือการเข้าฌานอันมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ได้แก่
๑.ฌานที่กำหนดเอาช่องว่างเช่นอากาศ สูญญากาศที่ไม่มีสิ้นสุดเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากาสานัญจายตนะ)
๒.ฌานที่กำหนดเอาวิญญาณอันหาที่สุดไม่ได้มาเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (วิญญาณัญจายตนะ)
๓.ฌานที่กำหนดเอาภาวะที่ไม่มีอะไรๆเป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ (อากิญจัญญายตนะ)
๔.ฌานที่เข้าถึงภาวะที่เรียกว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้(เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
home

*วิโมกข์ ๘

คือความหลุดพ้น เป็นภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างเต็มที่ แบ่งออกเป็นขั้นๆดังนี้
๑.ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตนเช่น สีผมเป็นต้น
๒.ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก ได้แก่ รูปฌาน ๔ ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก
๓.ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า งาม ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา
๔.เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้
๕.เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
๖.เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนัสิการว่าไม่มีอะไรเลย
๗.เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่
๘.เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่

*อ้างอิงจากพจนานุกรมพุทธศาสตร์ โดยท่านพระธรรมปิฎก
home
home back
กลับหน้าศาลา