Tag: ไทย จีน พม่า เผ่าไทย ไต ยูนนาน ชาวไต สิบสองปันนา ไทลื้อ เชียงรุ่ง สิบสองพันนาชนิด: รูป - ประเภท: สังคมศาสนา
13 บทวิจารณ์ | 1,954 คนอ่าน |
บทความ เนื้อเรื่อง หรือ คำอธิบาย โดยละเอียด
ดินแดนร้อยโค้ง สิบสองปันนา . เขตปกครองตนเองชนชาติไท สิบสองปันนา (จีนตัวเต็ม: 西雙版納傣族自治州; จีนตัวย่อ: 西双版纳傣族自治州; พินอิน: Xīshuāngbǎnnà dǎizú Zìzhìzhōu; อังกฤษ: Xishuangbanna Autonomous Region of Tai Ethnic Groups) ตั้งอยู่ทางใต้สุดของมณฑลยูนนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน สิบสองปันนา มีความหมายว่า "นาสิบสองพัน" หรือ "นา 12,000 ผืน" อีกนัยหนึ่งก็คือ 12 เมือง มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองเชียงรุ่ง (จีน: 景洪 จิ่งหง) เป็นเมืองของชาวไทลื้อ ในสมัยโบราณนั้น เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรน่านเจ้า มีเมืองหลวงอยู่ที่ หนองแส หรือ เมือง ต้าลี่ ในประเทศจีนปัจจุบัน สิบสองปันนา ตามเอกสารที่ได้บันทึกเมื่อปี พ.ศ. 2113 จัดแบ่งไว้ ดังนี้ [1]
มีเพลงหนึ่งเพลงของคำหล้า ซึ่งไพเราะมาก แต่ว่าข้อมูลอันเกี่ยวเนื่องกับเพลงนี้ ก็มีเยอะมากไม่น้อยหน้ากัน ฉันจึงเกิดอาการ "ดอง" เอาไว้ก่อน เนื่องจากหยุดพักผ่อนยาว ๆ ตั้งแต่วันมีทติ้ง ก็เลยรู้สึกเหนื่อย ๆ แต่ว่าตอนนี้เกิดจะ "ขยัน" ขึ้นมาซะแล้วนี่ จึงจำต้องอ่านสิ่งที่ค้นคว้ามาได้ ให้ละเอียดที่สุด กันเหนียว [๕๕๕ !!! มีคนบอกฉันว่า คุ้มจะโดนเผาถ้าไม่รีบอัพ ] . ฉันจะไม่ขยายความอะไรมาก ขอเอาเนื้อ ๆ เลยดีกว่า เพลงที่ฉันหยิบมานำเสนอ พร้อมเกร็ดเล็กน้อยนี้คือเพลง "สิบสองปันนา" น้องคำหล้าร้องเอาไว้อยู่ในชุดประทีปพันดวง .เรื่องราวของเพลงไม่มีรายละเอียดอะไรมาก แต่เรื่องราวของดินแดนสิบสองปันนา มีเยอะจนกว่าที่ฉันจะอ่านได้จบ และตัดทอนออกมาจะใช้เวลาไม่น้อยเลย . บ้านแบบไทลื้อ ได้เริ่มต้นการค้นคว้ามาหลายวันมากสำหรับดินแดนสิบสองปันนา หรือเชียงรุ่ง เนื่องจากเป็นดินแดนซึ่งเป็นรัฐไทยอิสระอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนหนาน และมีความสัมพันธ์กับไทยมาช้านาน ประชาชนพลเมืองล้วนแต่เป็นชาวไทภูเขา โดยเฉพาะไทลื้อจะเยอะที่สุด และดินแดนสิบสองปันนาก็เปรียบเสมือเป็นเมืองหลวงหรือศูนย์กลางแห่งชาวไทลื้อด้วยเช่นกัน . ไทลื้อเป็นหนึ่งในกลุ่มชนชาติ ไท หรือ ไต ชนชาติที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาช้านานในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออุษาคเนย์ เป็นชนชาติที่มีภาษาวัฒนธรรมเป็นของตนเอง มีความสามารถทางการเพาะปลูกและการเกษตรกรรมเก่าแก่ไม่แพ้ชนชาติใดในโลก . การแต่งกายชาวไทลื้อ . มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์และทางโบราณคดีได้กล่าวไว้ว่า ชาวไทลื้อดำรงชนชาติมานานกว่า 2,000 ปี อาณาจักรที่เป็นศูนย์กลางของชาวไทลื้อสถาปนาขึ้นเมื่อราว 800 ปีก่อน ตามหลักฐานทางโบราณคดีระบุว่า ขุนเจือง หรือ พญาเจือง ได้รวบรวมชาวไทลื้อกลุ่มเล็กๆให้เป็นปึกแผ่น . และสถาปนาอาณาจักร หอคำเชียงรุ่ง ขึ้นบริเวณเมืองเชียงรุ่งเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาแห่งนี้ในปี พ.ศ.1723 โดยประกาศอิสรภาพไม่ขึ้นอยู่กับอาณาจักรตาลีฟูของจีน และครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์แรก มีพระนามว่า สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่งองค์ที่ 1 . . วัดเชียงบาน สถาปัตยกรรมของชาวไทลื้อ อ.เชียงบาน จ.พะเยาว์ . ชาวไทลื้อออกเสียง พ.พาน เป็นเสียง ป.ปลา จึงออกเสียงหัวเมืองทั้งหมดที่มีสิบสองพันนาเป็นสิบสองปันนา ระบบการปกครองแบบพันนานี้ก็เริ่มขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าอินทร์เมืองรัชกาลที่ 21แห่งอาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง ในราวปี พ.ศ.2115 ซึ่งมีเมืองต่างๆ กระจายกันอยู่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง . ตามคำเรียกขานอย่างคล้องจองของชาวไทลื้อที่ว่า 5 เมิงตะวันตก 6 เมิงตะวันออก อันหมายถึงเมืองหรือพันนาทางฝั่งตะวันตกของของแม่น้ำโขงนั้นมี 5 เมือง และฝั่งตะวันออกอีก 6 เมือง รวมกับเชียงรุ่งซึ่งเป็นศูนย์กลางอีก 1 เมือง เป็น 12 เมืองใหญ่ หรือ 12 พันนา . วัดหนองบัว สถาปัตยกรรมของชาวไทลื้อ ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน . สิบสองปันนาดำรงความมั่นคงเฟื่องฟูอยู่ราวร้อยกว่าปีก็ถูกรุกรานอีกครั้งโดยชาวจีนสมัยราชวงศ์มองโกล
และตกอยู่ในการปกครองของจีนอีกครั้งในปี พ.ศ. 1835 โดยจีนได้แต่งตั้ง
เจ้าแสนหวีฟ้า ขึ้นเป็นกษัตริย์เชียงรุ่ง ซึ่งคำว่า แสนหวี
นั้นมาจากภาษาจีนว่า ชวนเหว่ ซึ่งหมายถึงการโฆษณาปลอบโยน
ตำแหน่งของเจ้าแสนหวีจึงหมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่เกลี้ยกล่อมปลอบโยนราษฎรในปกครองให้อยู่ในอำนาจของจักรพรรดิจีน
เมื่อสิบสองปันนาอ่อนแอลงและต้องตกอยู่ในปกครองของจีนแต่ศูนย์กลางแห่งอำนาจจีนก็อยู่ห่างไกล ในขณะที่อิทธิพลของพม่าและสยามในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นเมื่อราว 200 กว่าปีก่อน ก็แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับอาณาจักรสิบสองปันนาจึงจำเป็นต้องยอมอ่อนน้อมส่งเครื่องบรรณาการให้กับทั้งเจ้ากรุงจีน เจ้ากรุงศรีอยุธยา . ไทลื้อในอดีต อันหมายถึงสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตโกสินทร์ และเจ้ากรุงอังวะแห่งพม่า สิบสองปันนาในยามนั้นจึงถูกเรียกว่าเป็นเมือง สามฝ่ายฟ้า คือตกอยู่ใต้อิทธิพลของชาติที่แข็งแกร่งกว่าถึง 3 อาณาจักรในเวลาเดียวกัน . . สาวลื้อ . ซึ่งเรียกกันว่ายุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง
อันเป็นวิธีการฟื้นฟูอาณาจักรล้านนาวิธีหนึ่ง
เพราะในช่วงที่พม่ายึดครองเชียงใหม่นั้น
ก็ได้กวาดต้อนชาวเชียงใหม่และชาวล้านนาไปอยู่ที่พุกามและมัณฑเลย์จำนวนมากเช่นกัน
. สถาปัตยกรรมแบบไทยลื้อ เมืองสิบสองปันนา . เจ้าหม่อมคำลือ
กษัตริย์องค์สุดท้ายต้องเปลี่ยนฐานะเป็นสามัญชนคนหนึ่ง
โดยทางการจีนให้ทำงานอยู่ในสถาบันชนชาติส่วนน้อยแห่งมณฑลยูนหนาน
พระราชวังเวียงผาคราง
ริมฝั่งแม่น้ำโขงเมืองเชียงรุ่งของกษัตริย์ไทลื้อถูกเผาทำลายลงจนราบคาบ
แม้การปฏิวัติวัฒนธรรมของลัทธิคอมมิวนิสต์จะมีส่วนในการทำลายภูมิปัญญา ศาสนา และวัฒนธรรมของชาวไทลื้อไปมากน้อยเพียงใด แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไป ระบอบคอมมิวนิสต์เสื่อมคลายความเข้มงวดลง ศาสนาและวิถีวัฒนธรรมของชาวไทลื้อสิบสองปันนาก็กลับฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง สิบสองปันนาเปิดตัวให้กับโลกภายนอกอีกครั้ง . แม่น้ำโขงในดินแดนสิบสองปันนา . คนไทยจากเมืองไทยได้รู้จักและไปมาหาสู่ชาวไทลื้อสิบสองปันนาที่เป็นเสมือนชนร่วมสายบรรพบุรุษอีกครั้ง แต่ช่วงเวลาแห่งความสวยงามเหล่านี้ยืนอยู่ได้ไม่นานนัก วัฒนธรรมของชาวไทลื้อสิบสองปันนาก็ต้องมาถูกทำลายอีกครั้ง . ซึ่งเป็นการทำลายล้างอย่างหนักหน่วงกว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมโดยระบอบคอมมิวนิสต์เสียอีก และเป็นการทำลายวัฒนธรรมของชาวไทลื้ออย่างถาวรอีกด้วย นั่นคือการถูกทำลายจากการพัฒนาในระบอบทุนนิยมนั่นเอง . เคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งเป็นชาวเหนือโดยแท้ ได้พูดกับฉันไว้ครั้งหนึ่งว่า หากอาณาจักรล้านนา จะรวมตัวและตั้งประเทศขึ้นมาเอง ย่อมได้อยู่แล้ว และภาษาที่ใช้ประจำชาติ ก็จะต้องเป็นภาษาเหนือ ไม่ใช่ภาษากลาง ทำให้ฉันมองภาพว่า ถ้าเป็นไปได้จริง อาณาจักรล้านนา ก็คงจะใกล้เคียงกับ สิบสองปันนาเป็นแน่แท้ . บ้านแบบชาวไทลื้อ . ขอบคุณข้อมูลการค้นหาจาก โอนสไมล์ http://www.oceansmile.com/China/SibsongpannaHistory.htm อันที่จริงเยอะกว่านี้ การอพยพของชาวไทลื้อ และไทลื้อในปัจจุบัน ฯลฯ อยากทราบโดยละเอียดคลิกเข้าไปอ่านได้เลยค่ะ ขนาดตัดออกแล้วยังยาวเหยียด ไม่รู้ว่าจะกระชับอย่างไรแล้วค่ะ ต้องขออภัย |
เห็นยายรูปที่ 8 แล้ว คิดถึง ย่าเราจัง รักย่าที่สุดในโลก...
เราเป็นไททรงดำ (◡‿◡✿)™
เป็นบทความที่น่าสนใจมากครับ เพลงประกอบไพเราะมาก +2 ครับ
ล็อกอิน | สมัครสมาชิก